6 วิธี…ออมเงินด้วยประกันแบบต่างๆ

 

หากพูดถึง “ประกันชีวิต” เพื่อนๆ หลายคนอาจเห็นว่ามันเป็นเรื่องซับซ้อนไกลตัว เพราะยังไม่เข้าใจดีว่ามันมีประโยชน์ต่อชีวิตเรายังไง ขณะที่บางคนกลับคิดว่า ประกันชีวิต มีไว้สำหรับคนสูงวัยที่อายุมากแล้วเท่านั้น แต่ปัจจุบันคนหนุ่มสาว รวมถึงวัยกลางคนต่างหันมาสนใจซื้อประกันชีวิตกันมากขึ้น โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อการออมควบคู่ไปกับความคุ้มครองชีวิตซึ่งแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ประเภทของแบบประกันนั้นๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาลเมื่อผู้เอาประกันประสบอุบัติเหตุ เงินชดเชยยามเสียชีวิต หรือแม้กระทั่งค่าทำศพ ค่าเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น

เราลองมาดู 6 เคล็ดลับ…ออมเงินด้วยประกันชีวิตแบบต่างๆ กันเถอะ

  1. ประกันแบบตลอดชีพ

เรียกง่ายๆ ว่าแบบ whole life จะให้ความคุ้มครองกับเราตลอดชีพ โดยเบี้ยประกันของประเภทนี้จะค่อนข้างสูง และเรายังต้องชำระเบี้ยระยะยาวจนกว่าจะมีอายุครบ 70, 80, 90 ปี แต่หากเราเสียชีวิตระหว่างสัญญา บริษัทจะจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้รับประโยชน์ที่เราระบุไว้ในกรมธรรม์ ขณะที่เบี้ยประกันแบบชั่วระยะเวลา (term ) จะถูกว่า แต่ต้องเป็นประเภทกำหนดระยะเวลา (fixed term ) เท่านั้น

  1. ประกันแบบชั่วระยะเวลา

แบบนี้ผู้รับประโยชน์จะได้รับเงินชดเชยจากบริษัทหากเราเสียชีวิตระหว่างสัญญา แต่หากครบกำหนดสัญญาไปแล้วจะไม่ได้รับการชดเชยใดๆ ซึ่งหลายคนก็เลือกใช้สิทธิกู้ยืมเงินโดยมีกรมธรรม์ประกันภัยเป็นประกัน

  1. แบบชั่วระยะเวลาลดเงินเอาประกันภัย

บริษัทผู้รับประกันจะจ่ายเงินชดเชยหากเราเสียชีวิตระหว่างสัญญา (ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้) ซึ่งหากเราชำระเบี้ยประกันตั้งแต่ 2-3 ปีขึ้นไป กรมธรรม์นั้นจะมีมูลค่าเงินสดและเราสามารถใช้สิทธิ์ขอกู้เงินตามกรมธรรม์ได้

  1. ประกันชีวิตรายสามัญ หรือ ประกันชีวิตร่วม

หากเป็นรายสามัญปกติ เบี้ยประกันที่ต้องจ่ายจะถูกกว่าแบบร่วม โดยจะคุ้มครองชีวิตของเราคนเดียว แต่ประกันชีวิตแบบร่วมจะให้ความคุ้มครองชีวิตทั้งของเราและคู่สัญญา ซึ่งอาจจะเป็น สามี-ภรรยา หรือลูกๆ โดยจะได้รับเงินชดเชย กรณีที่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิต

  1. ประกันชีวิตโรคร้าย

ทุกครั้งก่อนจะตัดสินใจซื้อประกันชีวิต ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่ามันให้คุ้มครองโรคร้ายแรงต่างๆ หรือไม่ หากแบบนั้นครอบคลุมโรคร้ายแล้วเราตรวจพบว่าตนเองเป็นโรคหัวใจ มะเร็ง หรือลมชัก บริษัทก็จะจ่ายเงินให้ตามสัญญา โดยประเด็นนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อชีวิตเราในระยะยาวเป็นอย่างมาก เพราะการซื้อประกันที่ให้คุ้มครองโรคร้ายแรงย่อมดีกว่าการซื้อแบบประกันธรรมดาอยู่แล้ว แต่เราก็ต้องคำนวณถึงเบี้ยที่ต้องจ่ายไปด้วยว่ามันคุ้มค่าหรือไม่อย่างไร

  1. การยกเว้นเบี้ยประกัน

หากเราไม่สามารทำงานได้เพราะทุกพลภาพ หรือป่วยด้วยโรงร้ายแรงตามที่ระบุไว้ในสัญญา การใช้สิทธิตามกรมธรรม์ด้วยการยกเว้นเบี้ยประกันก็ถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราออมเงินได้ต่อไป  แถมเรายังได้รับจ่ายเงินชดเชยจากบริษัทตามข้อตกลงอีกด้วย

 

 

ขอบคุณ http://www.lifehack.org/467871/6-money-saving-tips-for-your-various-insurance-policies