สำหรับใครที่ไม่เคยซื้อประกันมาก่อนเลยในชีวิตคงสับสนไม่น้อยว่าตนเองควรซื้อประกันประเภทไหนกันแน่ เพราะแต่ละแบบก็ให้ผลประโยชน์ ข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันออกไป บางคนเลือกซื้อแบบออมทรัพย์ที่คุ้มครองชีวิตและให้ผลตอบแทนดี ทั้งเงินคืนระหว่างปีและเงินครบกำหนดสัญญา ขณะที่บางคนซื้อเพียงเพราะต้องการนำเบี้ยไปลดหย่อนภาษี ทั้งทีความจำเป็นหรือข้อจำกัดในการซื้อประกันชีวิตของแต่ละคนอาจไม่ได้มีแค่นั้น เช่น จ่ายเบี้ยปีต่อไม่ไหว เงื่อนไขกรมธรรม์หลักไม่สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้ ทุนประกันที่ซื้อต่ำเกินไป
วันนี้จึงมี tips ง่ายๆ สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มซื้อประกันชีวิต ว่าควรเริ่มจากตรงไหนถึงจะเลือกแบบประกันที่คุ้มค่าและตอบสนองความต้องการของตนเองได้มากที่สุด
- รู้ความต้องการของตนเอง
อันดับแรก ต้องเข้าใจก่อนว่าประกันชีวิตมีกี่แบบ และแต่ละแบบมีรายละเอียดต่างกันอย่างไร จากนั้นก็สำรวจความต้องการของตนเองว่าจะซื้อประกันชีวิตไปเพื่อจุดประสงค์ แล้วเลือกแบบที่ตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด กล่าวคือ ประกันชีวิตมีทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่
- ชั่วระยะเวลา –ความคุ้มครองสูงและเบี้ยประกันต่ำ แต่ผู้เอาประกันจะได้เงินคืนเมื่อเสียชีวิตในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์เท่านั้น
- ตลอดชีพ – เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองสูงเกือบตลิดชีวิตตามชื่อแบบ แถมค่าเบี้ยไม่สูงมากเพราะต้องจ่ายเป็นรายปีอย่างต่อเนื่อง หากเราเสียชีวิตก่อนครบสัญญา ผู้รับประโยชน์ก็จะได้เงินชดเชย แต่หากอยู่ครบกำหนดก็จะได้เงินคืนตามปกติ
- สะสมทรัพย์– มักจะให้ผลตอบแทนสูง แต่เบี้ยที่เราต้องจ่ายก็สูงตามไปด้วยเช่นกัน
- บำนาญ – เราจะได้เงินก็ต่อเมื่ออายุครบตามที่กำหนด ส่วนใหญ่มักจะเป็นวัยเกษียณ เช่น 60, 65 ปี บริษัทมักจะจ่ายคืนให้เป็นงวดๆ เป็นระยะเวลาตามที่ระบบไว้ในกรมธรรม์
- กำหนดทุนประกัน
ทุนประกันที่เหมาะสมไม่ควรน้อยกว่า 3 เท่าของรายได้ต่อปี + ภาระหนี้ที่มีทั้งหมด เช่น รายได้ต่อปี 500,000 บาท (3 เท่าของรายได้ก็ประมาณ 1.5 ล้าน) มีภาระหนี้ค้างอยู่อีกประมาณ 50,000 บาท ทุนประกันชีวิตของเราควรมากกว่า 1,600,000 บาท
- เลือกแบบที่เหมาะสม
สิ่งที่ควรนำมาพิจารณาคือ ต้องเลือกแบบที่เราสามารถจ่ายเบี้ยประกันไหว ไม่เป็นภาระตัวเองมาก จนเกินไป โดยเบี้ยประกันที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 10-15% ของรายได้ต่อปี ทั้งยังควรเป็นแบบประกันที่ตอบสนองความต้องการของตนเองมากที่สุด เช่น แบบที่ความคุ้มครองเกิน 10 ปีหากต้องการนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษี แบบสะสมทรัพย์ระยะยาวเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้บุตร ประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองปีต่อปี สัญญาเพิ่มเติมที่คุ้มครองโรคร้าย เป็นต้น
- ตรวจสอบข้อมูลก่อนซื้อ
หลังจากเลือกแบบประกันที่ต้องการซื้อได้แล้วก็ทบทวนข้อมูลแบบประกัน รายละเอียดและเงื่อนไขต่างอีกสักรอบให้ถี่ถ้วนอีกครั้ง จะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดในภายหลัง หากมีส่วนไหนที่ยังไม่เข้าใจก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ นั้นๆ ให้เรียบร้อยเสียก่อน
ขอบคุณที่มา
https://money.kapook.com/view136817.html
https://money.kapook.com/view159870.html