สิ่งที่ควรรู้ ก่อนทำประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษี

การทำประกันชีวิต นอกจากจะช่วยรองรับความเสี่ยงในชีวิต คุ้มครองครอบครัวและทายาท และเป็นการออมเงินรูปแบบหนึ่งแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ อีกด้วย และนี่คือสิ่งที่คุณควรรู้ ก่อนเริ่มต้นทำประกันชีวิตเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษี โดยมี 2 แบบ ได้แก่ ประกันชีวิตแบบทั่วไป กับประกันชีวิตแบบบำนาญ มาดูกันว่าทั้ง 2 แบบมีรายละเอียดการลดหย่อนอย่างไรบ้าง ศึกษาให้ละเอียดเพื่อประกอบการตัดสินใจนะคะ

ประกันชีวิตทั่วไป

  • ลดหย่อนสูงสุด 100,000 บาท สำหรับประกันที่มีอายุกรมธรรม์มากกว่า 10 ขึ้นไปเท่านั้น

ค่าเบี้ยประกันชีวิต สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ขึ้นไปเท่านั้น และผลประโยชน์ตอบแทนต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี จึงจะสามารถหักลดหย่อนภาษีได้

  • คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ หักลดหย่อนได้

สำหรับประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ เบี้ยประกันสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

  • เบี้ยประกันอื่นลดหย่อนไม่ได้

ค่าเบี้ยประกันสำหรับความคุ้มครองอื่น ๆ นอกจากประกันชีวิต ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนร่วมได้ เช่น คุ้มครองสุขภาพ หรือคุ้มครองอุบัติเหตุ

ประกันชีวิตแบบบำนาญ

  • ลดหย่อนสูงสุด 200,000 บาท

สำหรับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ในอัตราร้อยละ 15 ของรายได้ที่นำมาคำนวณภาษีเงินได้รายปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

  • ประกันต้องมีอายุกรมธรรม์ 10 ปีขึ้นไป

เช่นเดียวกันกับประกันชีวิตทั่วไป เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ จะต้องมีอายุความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปเท่านั้น

  • จ่ายผลตอบแทนเงินบำนาญเมื่อผู้ทำประกันอายุ 85 ปีขึ้นไปเท่านั้น

เบี้ยประกันชีวิตบำนาญที่หักลดหย่อนภาษีได้ ต้องเป็นประกันที่จ่ายตอบแทนเงินบำนาญ เมื่อผู้ทำประกันอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ถึงอายุ 85 ปีหรือมากกว่า และเมื่อคิดรวมกับเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่น ๆ เช่น เงินสะสมในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ ฯลฯ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

นอกจากสิทธิลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันชีวิตแล้ว ยังมีมาตรการลดหย่อนภาษีอื่น ๆ ที่เราสามารถทำได้ เช่น มาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อสนับสนุนการมีบุตร ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร เงินบริจาคแก่สถานพยาบาลของรัฐ เงินบริจาคสถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพสูง เงินบริจาคให้พรรคการเมือง เงินลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ รวมถึงมาตรการช้อปช่วยชาติ  ผู้เสียภาษีควรอัพเดตมาตรการลดหย่อนภาษีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดของตัวเอง

ถ้าใครที่อยากซื้อประกันชีวิต ก็สามารถเข้ามาซื้อประกันออนไลน์ได้แล้ว ทั้งเร็ว ง่าย สะดวก สำหรับคนที่สนใจทำประกันเพื่อลดหย่อนภาษี ก็สามารถคลิปเข้ามาดูแบบประกันออนไลน์ของ PhillipLife ได้ที่นี่เลยครับ

คลิกอ่านรายละเอียด
และคลิกซื้อประกันชีวิตออนไลน์