วางแผนภาษี เทคนิคชั้นดีช่วยประหยัดเงิน

ถึงแม้ว่าเราจะทำการยื่นภาษีทุกปี แต่ก็ยังมีเรื่องให้เราได้ขบคิดตลอด แล้วเราจะวางแผนอย่างไรให้เสียภาษีน้อยที่สุดดีนะ วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีและเทคนิคดีๆ รวมถึงตัวช่วยที่ทำให้เราประหยัดเงินในกระเป๋าในการเสียภาษีลงได้อีก จะมีวิธีอะไรบ้างนั้นเราไปดูกันเลย

  1. รวมรายได้ของเราทั้งหมดใน 1 ปีว่าเรามีรายได้รวมเท่าไร เมื่อได้ตัวเลขออกมาคร่าวๆ แล้วให้นำไปเทียบกับตารางอัตราการเสียภาษีของกรมสรรพากร เราก็จะรู้ว่าเรทรายได้ของเราต้องเสียภาษีกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้สุทธิทั้งหมด หลังจากนั้นทำการแยกประเภทรายได้ออกเป็นส่วนๆ 8 ประเภท ได้แก่ เงินเดือน เงินรับจ้าง เงินค่าลิขสิทธิ์ เงินปันผล เงินค่าเช่า เงินค่าวิชาชีพ เงินรับเหมาและเงินที่หามาได้ในส่วนอื่นๆ เพื่อให้ง่ายในการหักค่าใช้จ่ายและการลดหย่อนภาษี
  2. ค่าใช้จ่ายที่เราใช้จริง หากใครที่ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายประจำวันอยู่แล้วคงรู้จำนวนเงินค่าใช้จ่ายที่แท้จริงและถ้าหากใครไม่ได้บันทึกไว้ก็ไม่เป็นไร เราใช้วิธีการประมาณคร่าวๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน ค่าบ้าน ค่ารถหรือค่าโทรศัพท์ รวมถึงค่าจิปาถะอื่นๆ ด้วย เมื่อเรารู้จำนวนค่าใช้จ่ายของเราคร่าวๆ แล้วต่อไปก็จะเป็นการว่าแผนการเงินและการเสียภาษี
  3. เมื่อเราได้ข้อมูลคร่าวๆ ทั้งหมดในข้อ 1 และข้อ 2 แล้วต่อไปนี้เราจะมาวางแผนกันว่าจะทำอย่างไรให้เราจ่ายภาษีให้น้อยที่สุด โดยเราจะใช้การลดหย่อนภาษีเป็นตัวช่วยที่ทำให้เราประหยัดเงินในการเสียภาษี ซึ่งเราจะแบ่งรายการการลดหย่อนภาษีออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ เพื่อให้ง่ายต่อการคิดภาษี
    • รายการที่เป็นภาระติดตัว อย่างเช่น ลดหย่อนส่วนตัว หรือคู่สมรส ลดหย่อนบิดามารดาที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ลดหย่อนบุตรและค่าคลอดบุตร หรือใครที่พิการหรือทุพพลภาพก็จะได้สิทธิ์ลดหย่อนในส่วนนี้ด้วย
    • การทำประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตทั่วไปหรือใครที่มีเงินฝากแบบมีประกันภัยก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ รวมถึงการทำประกันสุขภาพทั้งของตัวเองและบิดามาร
    • การใช่จ่ายเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นช้อปช่วยชาติ ท่องเที่ยวไทย หรือใครที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจที่เป็น SME หรือ Startup ก็จะได้สิทธิ์ลดหย่อนนี้ด้วยเช่นกัน

3.4 การบริจาค ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ถือว่าเป็นการหมุนเงินคืนสู่สังคม สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินบริจาคและไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของเงินได้ที่หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว

3.5 เบี้ยชำระที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยชำระเพื่อที่อยู่อาศัยหรือโครงการซื้อบ้านหลังแรกในปี 2558-2559 ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

4.ข้อสุดท้ายเมื่อเราได้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว เราก็จะมาคำนวณภาษีกันโดยใช้สูตร ภาษี = (รายได้สุทธิ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี เพียงเท่านี้เราก็ทราบแล้วว่าในปีนี้เราต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่

ใครอยากประหยัดเงินได้ของเรา และไม่อยากเสียภาษีเกินความจำเป็น ก็อย่าลืมนำเคล็ดลับลดหย่อนภาษีที่เรานำมาฝากไปใช้กันนะคะ

คลิกอ่านรายละเอียด
และคลิกซื้อประกันชีวิตออนไลน์ได้ที่