เตรียมตัวอย่างไร จากมนุษย์เงินเดือนสู่เจ้าของธุรกิจ
จากการสำรวจในปี 2020 พบว่าอัตราการลาออกของมนุษย์เงินเดือน ในปี 2560 เพิ่มขึ้นมาเป็นร้อยละ 16.6 (จากร้อยละ 16.3 ในปี 2559 และร้อยละ 13.5 ในปี 2558) โดยพนักงานที่ลาออกนั้น บางส่วนออกมาเพื่อที่จะทำธุรกิจส่วนตัว ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ต้องอาศัยการเชี่ยวชาญในการบริหาร จึงจะสามารถอยู่รอดมาจนถึงกว่า 10 ปีได้
ดังนั้น การที่คุณจะทำธุรกิจให้ยั่งยืนไม่ใช่เรื่องง่ายเลย สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนต้องอาศัยประสบการณ์ในด้านต่างๆ เตรียมตัวและพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้
- แผนการทำธุรกิจ
ต้องใช้เวลาเริ่มอย่างน้อย 3-5 ปี โดยการเริ่มทำธุรกิจนั้นจะต้องมีการทำแผนธุรกิจก่อนเสมอเพื่อให้เห็นภาพรวมของธุรกิจในทุกมุมมอง โดยการพิจารณาโมเดลของธุรกิจให้ครบถ้วน ทั้งกลุ่มลูกค้า สินค้า กลุ่มเป้าหมาย ต้นทุน การตั้งราคาต่างๆ เพื่อให้ได้กำไร
- รูปแบบการทำธุรกิจที่เหมาะสม
อย่างการประกอบธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยพิจารณาถึงหลักการเทียบภาษี การหักค่าใช้จ่ายต่างๆ
– อัตราภาษีที่แตกต่างกันมาก
- บุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีในอัตราก้าวหน้า ตั้งแต่ร้อยละ 5 – 35
- นิติบุคคล จะเสียภาษีในอัตราคงที่ร้อยละ 20 สำหรับนิติบุคคลขนาดใหญ่
– การหักค่าใช้จ่าย
- บุคคลธรรมดา สามารถเลือกใช้วิธีการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาสำหรับเงินได้บางประเภท
- นิติบุคคล สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง โดยต้องมีเอกสารหลักฐานประกอบการหักค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
- ทรัพยากรที่จำเป็นต้องมี
จะเปรียบเทียบกับที่ปัจจุบันมีอยู่ เช่น ทีมงาน สถานที่ อุปกรณ์การทำงาน ซึ่งอาจจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าในกรณีที่กิจการยังมีเงินลงทุนจำกัดในระยะแรก
- บริหารสภาพคล่องและเงินทุนสำรอง
การประกอบธุรกิจในช่วงแรกมักมีความเสี่ยงในเรื่องการบริหารรายรับรายจ่าย จึงต้องพิจารณาการบริหารสภาพคล่องให้เหมาะสม
- พิจารณาบริหารความเสี่ยงเพิ่มเติม
ผู้ประกอบการต่างๆ ควรมีสวัสดิการติดตัวเอาไว้ ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันจะได้ไม่กระทบเงินสำรองและเงินออม
เห็นไหมครับว่าการจะเป็นเจ้าของธุรกิจโดยเริ่มจากมนุษย์เงินเดือนนั้นไม่ใช่สิ่งที่ยากเลย หากคุณมีการจัดระบบทางด้านการเงินที่ดี มีการวิเคราะห์ถึงผลกระทบทางด้านต่างๆ รับรองว่าการจะเป็นเจ้าของธุรกิจใดๆ จะอยู่ใกล้แค่เอื้อมครับ