วางแผนทางการเงิน ในสภาวะเศรษฐกิจขาลง

วางแผนทางการเงินให้รอด ในสภาวะเศรษฐกิจขาลง

ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าสภาวะเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเริ่มชะลอตัว อันมีเหตุผลมาจากหลากหลายปัจจัย  แต่ปัจจัยหลักๆ นั้น น่าจะมาจากภาวะการเกิดโรคระบาดอย่างไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้เกิดการชะงักงันของสภาวะเศรษฐกิจโดยภาพรวม แต่ถึงกระนั้น การเก็บเงินและการวางแผนทางการเงินให้รอดในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ก็ควรทำเป็นอย่างยิ่ง ในบทความนี้ ฟิลลิปประกันชีวิต จึงข้อมูลดีๆ ในการวางแผนการเก็บเงินให้งอกเงยมาฝากกัน มาติดตามกันได้เลยครับ

  1. มีกองทุนสำรองฉุกเฉิน
    หากคุณนั้น มีการเก็บเงินอยู่ในกองทุนที่สูงอยู่แล้วนั้น ก็เป็นการรับประกันความปลอดภัยได้ในระดับหนึ่ง หากคุณมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นในชีวิต เช่นการตกงาน หรือมีค่าใช้จ่ายใหญ่ๆ เกิดขึ้น เงินสำรองในส่วนนี้ก็ยังสามารถช่วยคุณได้จากสภาวะต่างๆ เหล่านี้
  2. พยายามอย่าใช้เงินเกินตัว

ความประหยัดนั้นเป็นเรื่องที่ดี ดังนั้นในการใช้จ่ายต่างๆ คุณควรจะรอบคอบ พยายามอย่าใช้เงินเกินตัวเป็นอันขาด หากคุณชินกับการใช้จ่ายเงินอย่างประหยัด ก็เป็นการวางแผนการเงินที่ช่วยให้เรามีความเสี่ยงเป็นหนี้น้อย หากเกิดสภาวะค่าครองชีพสูงขึ้น คุณก็จะสามารถปรับตัวได้ง่ายขึ้น

  1. มีแหล่งรายได้มากกว่า 1 ทาง

หากคุณมีรายได้จากงานประจำอยู่แล้วนั้น คุณก็ควรที่จะหารายได้เสริมเพิ่มขึ้นมาบ้าง อาจจะเป็นการใช้ความสามารถที่คุณถนัด เช่น การสอนพิเศษ การค้าขายสินค้าต่างๆ การขายสินค้าออนไลน์ ฯลฯ เพราะรายได้ต่างๆ เหล่านี้จะช่วยจุนเจือค่าใช้จ่ายของคุณ เพราะหากเกิดเหตุไม่คาดฝันคุณตกงาน ก็ยังสามารถมีเงินในส่วนนี้มาใช้ เผลอๆ หากคุณจับจุดอาชีพเสริมให้ถูกทาง รายได้ในส่วนนี้อาจจะมากขึ้น โดยที่คุณไม่ต้องง้องานประจำได้เลยทีเดียวครับ

  1. วางแผนการเงินด้วยการลงทุนระยะยาว

การลงทุนนั้นมีความเสี่ยง ดังนั้นหากคุณลงทุนไว้แล้วขาดทุนก็อย่าเพิ่งตื่นตกใจไป เรายังมีการลงทุนอีกมากมายที่ให้ผลตอบแทนดี อย่างการลงทุนในรูปแบบประกันชีวิตออมทรัพย์ จากฟิลลิปประกันชีวิต ที่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นประกัน2/1 ประกัน10/1 เป็นประกันชีวิตออนไลน์ ที่สามารถซื้อได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

  1. ยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

อย่างที่บอกไปข้างต้นแล้วนั้นว่า การลงทุนนั้นมีความเสี่ยง ดังนั้นคุณจึงควรยอมรับความเสี่ยงของตนเองไว้ให้ได้ โดยผู้ที่มีอายุยังน้อย สามารถที่จะลองลงทุนในรูปแบบที่ความเสี่ยงสูงได้มากกว่าในวัยผู้ใหญ่ เพราะอาจจะยังมีเวลาในการเลือกลงทุนอีกมาก ภาระไม่เยอะ  แต่ถ้าหากคุณยอมรับความเสี่ยงสูงไม่ได้ ก็อาจจะต้องปรับการลงทุนของตัวเอง

  1. ลงทุนในหลายๆ แห่ง

การกระจายความเสี่ยงนั้นเป็นเรื่องที่ควรทำ ดังนั้นคุณจึงควรเลือกลงทุนในหลายๆ แห่ง แนะนำว่าพยายามหาแหล่งทุนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันโดยตรง เพราะหากเกิดข้อผิดพลากราคาตก การลงทุนในอีกรูปแบบหนึ่ง ก็จะยังคงพอทำให้คุณอุ่นใจได้

       7.  รักษาประวัติความน่าเชื่อถือของตัวเอง

เมื่อเศรษฐกิจขาลง แน่นอนว่าคนที่มีคะแนนความน่าเชื่อถือสูงก็จะได้รับอนุมัติเงินกู้ หรือเครดิตได้ง่ายกว่า ดังนั้นสิ่งนี้จะเป็นตัวช่วยที่ดีในการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของคุณครับ