ฟิลลิปประกันชีวิตดาวรุ่งแห่งวงการประกันออนไลน์

การระบาดของโรคได้กระตุ้นบริษัทประกันชีวิตขนาดเล็กที่ส่วนแบ่งของเบี้ยประกันภัยในตลาดยังคงน้อยอยู่

ในขณะที่ฟิลลิปประกันชีวิตนั้นยังคงเป็นเพียงบริษัทประกันชีวิตเล็กๆ ในตลาดประกันชีวิตไทยแต่ฟิลลิปประกันชีวิตก็ได้ก้าวเข้ามาเป็นผู้เล่นคนสำคัญในตลาดประกันดิจิทัล[ออนไลน์]ด้วยยอดขายที่พุ่งกระฉูดนับตั้งแต่มีการระบาดของโรคที่ผ่านมาและยังเป็นตัวบ่งบอกถึงแนวโน้มในอนาคตของธุรกิจประกันออนไลน์ได้เป็นอย่างดี
อ้างอิงจากสมาคมประกันชีวิตนั้น ณ เดือนกรกฎาคม ฟิลลิปประกันชีวิตมีส่วนแบ่งของเบี้ยประกันภัยจากทุกช่องทางในตลาดประกันชีวิตเพียง 0.51 % เท่านั้น นับเป็นลำดับที่ 17 จากทั้งหมด 22 ของบริษัทประกันชีวิตในไทย
แม้ฟิลลิปประกันชีวิตจะมีส่วนแบ่งในตลาดที่น้อยเมื่อเทียบกับบริษัทประกันชีวิตอื่นๆ แต่ ฟิลลิปประกันชีวิตนั้นก็ได้เข้ามาเป็นผู้นำในการทำประกันชีวิตผ่านช่องทางดิจิทัล ด้วยส่วนแบ่งในตลาดดิจิทัลกว่า 55.8 % ของส่วนแบ่งตลาดเบี้ยประกันภัยออนไลน์รายใหม่ (นับตั้งแต่มกราคม-กรกฎาคม2563) ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการทำประกันชีวิตแบบจ่ายเบี้ยเพียงครั้งเดียว(Single Premium)
ฟิลลิปประกันชีวิตนั้นมีทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 10,000 ล้านบาทและมีสินทรัพย์ รวมทั้งหมดที่ 15.6 พันล้านบาท บริษัทฟิลลิปประกันชีวิตนั้นได้เริ่มการขายประกันออนไลน์เมื่อปี 2558 ,สองปีหลังจาก บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิปของสิงคโปร์ได้เข้ามาซื้อกิจการของฟินันซ่าประกันชีวิต ด้วยการบริหารอย่างมืออาชีพในฐานะผู้บุกเบิกวงการโบรกเกอร์ออนไลน์ในสิงคโปร์
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า การทำประกันออนไลน์นั้นอาจจะเป็นเพียงช่องทางการขายเล็กๆ เฉพาะกลุ่มเท่านั้นและนั่นก็อาจเป็นช่องทางการอยู่รอดของบริษัทรับประกันภัยรายย่อยที่อาจไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทประกันชีวิตรายใหญ่ได้ในทั้งแง่ของการประหยัดต่อขนาด(การที่บริษัทมีขนาดการผลิตที่ใหญ่ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยถูกลง) และในแง่ของปริมาณตัวแทนอีกด้วย
เทคโนโลยีดิจิทัลนั้นได้เข้ามาช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของผู้คนและยังลดต้นทุนการดำเนินงานอีกด้วย นายสุทธิพลกล่าว เมื่อต้นทุนต่ำลงทำให้ราคาเบี้ยประกันภัยนั้นถูกลงในขณะเดียวกันบริษัทผู้รับประกันภัยนั้นก็ได้ฐานข้อมูลลูกค้ามาวิเคราะห์อีกด้วย

ออนไลน์เท่านั้น

นายชวลิต ทองรมย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโสฝ่ายขาย และCAO บริษัท ฟิลลิปประกันชีวิต กล่าวว่าช่องทางการขายผ่านทางดิจิทัลนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่เรียกว่า “White Ocean” นางชีวินา เพ็ชรถนอม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาดองค์กรและตลาดดิจิทัล บริษัทฟิลลิปประกันชีวิต กล่าวว่า ทางบริษัทฯ นั้นมีแอปพลิเคชันออนไลน์ที่ได้ให้บริการสามอย่างหลักๆได้แก่ e-cards ให้ผู้ถือกรมธรรม์มีบัตรประจำตัวของผู้ถือกรมธรรรม์ไว้ในสมาร์ทโฟนและใช้ในการเคลมประกันได้ทันที e-loans ที่ให้บริการเงินกู้ตามกรมธรรม์และ e-policy ที่ทำให้ลูกค้านั้นได้รับกรมธรรม์ไร้กระดาษแบบอิเล็คโทรนิคผ่านช่องทางอีเมลของลูกค้า

“เรามีระบบซื้อประกันชีวิตออนไลน์เต็มรูปแบบ”

นางชีวินากล่าว “ขั้นตอนการทำประกันออนไลน์ของเรานั้นสามารถทำเสร็จสมบูรณ์ได้ผ่านทางช่องทางออนไลน์แพลตฟอร์มของเราonline.philliplife.com ซึ่งใช้เวลาเพียงแค่ 15-20 นาทีสำหรับลูกค้าใหม่ และสำหรับลูกค้าเก่านั้นใช้เวลาเพียงแค่ 10นาทีเท่านั้น แพลตฟอร์มออนไลน์ของฟิลลิปประกันชีวิตจะเก็บข้อมูลของลูกค้าที่เคยซื้อกรมธรรม์ไปแล้วทำให้สะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าเดิมในการซื้อกรมธรรม์ครั้งถัดไป
โดยที่อัตราการซื้อซ้ำของบริษัทฯ นั้นมีมากถึง55% สำหรับการซื้อประกันภัยแบบจ่ายเบี้ยเพียงครั้งเดียว ลูกค้านั้นมีความพึงพอใจกับขั้นตอนการซื้อกรมธรรม์ที่ง่ายและรวดเร็วและยังสามารถนำค่าชำระเบี้ยประกันภัยมาลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย” นางชีวินากล่าว
นายชวลิต กล่าวว่า นอกจากช่องทางออนไลน์นั้นทางฟิลลิปประกันชีวิตยังมีช่องทางการขายผ่านตัวแทนด้วย ด้วยตัวแทนกว่า 4,500 คน (รวม 90คน ที่มี FA license) ที่จะเข้าไปหาลูกค้าแบบ F2F
นายชวลิตยังกล่าวอีกว่า ปีนี้ตลาดการลงทุนนั้นมีความผันผวนสูง แต่ทางบริษัทฯ นั้นก็ได้เข้าหาลูกค้าด้วยคอนเซ็ปต์ที่ว่าบริษัทฯ นั้นมาช่วยลูกค้าในการบริหารจัดการความเสี่ยง (ในฐานะที่ฟิลลิป ประกันชีวิตนั้นเป็นส่วนหนึ่งของหลักทรัพย์ฟิลลิปซึ่งมีการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายเพื่อกระจายความเสี่ยงได้)
ในแปดเดือนแรกที่ผ่านมาของปี2563 นั้นช่องทางการขายผ่านตัวแทนเติบโตขึ้นกว่า 80% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาดังกล่าว ณ ปี2562 และช่องทางการขายออนไลน์นั้นเติบโตขึ้นถึง 113%

การแข่งขันอันดุเดือด

ถึงแม้ว่าฟิลลิปประกันชีวิตนั้นจะเป็นผู้นำในด้านประกันออนไลน์ แต่AZAY อลิอันซ์ อยุธยา บริษัทประกันชีวิตผู้เล่นระดับกลางในตลาดประกันชีวิตก็ได้เข้ามาครองส่วนแบ่งในตลาดประกันออนไลน์พอๆกับฟิลลิปประกันชีวิต โดยที่ AZAY นั้นมีส่วนแบ่งในตลาดประกันออนไลน์อยู่ที่ 36.2% ของเบี้ยประกันภัยออนไลน์ทั้งหมด ในขณะที่ฟิลลิปประกันชีวิตครองส่วนแบ่งในตลาดที่36.1% ของเบี้ยประกันภัยออนไลน์ทั้งหมด นับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
นายชวลิตกล่าวเพิ่มว่า ทางฟิลลิปประกันชีวิตนั้นยังคงเน้นเจาะตลาดลูกค้าเฉพาะกลุ่ม อย่างไรก็ดียังมีโอกาสในการขยายพัฒนาต่อยอดไปยังกลุ่มลูกค้าที่สนใจผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตอื่นๆไม่ว่าจะเป็นการประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา,การประกันชีวิตควบการลงทุน Investment Linked และการประกันชีวิตแบบบำนาญ
โดยที่ในประเทศไทยนั้นการทำประกันชีวิตยังไม่เป็นที่นิยมมากนักโดยมียอดการทำประกันชีวิตเพียง 30% ของประชากรในประเทศไทย เพียง 5% สำหรับยอดการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ และสัดส่วนคนไทยต่อประชากรคนไทยทั้งหมดที่ได้รับเงินบำนาญนั้นยังคงมีอยู่น้อยมาก
บริษัท ฟิลลิปประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2490 โดยใช้ชื่อว่า บริษัท ไทย ประสิทธิประกันภัยและคลังสินค้า จำกัด โดยที่บริษัทได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงชื่อมาหลายครั้งและเคยดำเนินธุรกิจในชื่อต่างๆ ได้แก่ ไทยประสิทธิ์ประกันชีวิต,ไทยประสิทธิเนชั่นไวด์,เนชั่นไวด์ประกันชีวิต และฟินันซ่าประกันชีวิต