12 ข้อคิด เพื่อชีวิตการเงินที่มั่นคง

การวางแผนการเงิน  เปรียบเหมือนเข็มทิศ  เปรียบเสมือนตัวช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายการเงินที่วางไว้  ในการเตรียมความพร้อมและนำชีวิตไปสู่ความมั่งคงทางการเงิน   การวางแผนทางการเงิน คือ การจัดพอร์ทการลงทุนที่ดี  เช่น ลงทุน 70% ในกองทุนที่มีความเสี่ยงปานกลาง  หรือ ความเสี่ยงสูงที่รับได้    และ ลงทุน 30 % ในกองทุนตราสารหนี้   รวมทั้ง ต้องสามารถแบ่งเบา บรรเทา ความเสียหายด้านการเงิน ได้  เช่น การประกันสุขภาพ  เพื่อลดทอนค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล  การวางแผนทางการเงิน ยังหมายรวมถึง การบริหารจัดการรายรับ และ รายจ่าย  เช่น    ประกันชีวิต และ สุขภาพ 10% , ประกันออมทรัพย์ 10% , ประกันชีวิตควบการลงทุน 10% , ฝากเงินกับธนาคาร 10%  เพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คากคิด และ ค่าใช้จ่ายประจำเดือน รวมทั้ง  หนี้สิน 50%  ของรายรับ ต่อเดือน   เมื่อสามารถวางแผนการเงินที่ถูกต้อง แล้วนั้น  เงินก็สามารถทำงานแทนเราได้  เมื่อเกษียณอายุ  หรือ เมื่อเราหยุดทำงาน

การลงทุนกับหลักทรัพย์ แบบ Dollar Cost คือทะยอยซื้อหุ้น  ในช่วยระยะเวลานี้  ก็จะทำให้ต้นทุนต่ำ   เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว แล้วขาย  ก็จะมีโอกาศ ได้กำไร จากการซื้อ ขายหุ้น  และยังสามารถใช้เงินปันผล( หุ้นบางตัว ) ที่ได้รับ เป็นค่าใช้จ่าย  ระหว่างระยะเวลา รอคอยที่ยาวนาน จากปัจจุบันที่เศรษฐกิจฝืดเคือง  จนกระทั่งถึงเศรษฐกิจฟื้นตัว ของ เศรษฐกิจไทย  และ เศรษฐกิจโลก

เราชาวไทย อย่าเพิ่งหมดหวัง  อย่าเพิ่งสิ้นหวัง  เราสามารถทำชีวิตให้ดีขึ้นได้  ในยุควิกฤตซ้อนวิกฤษ เช่นนี้  การวางแผนทางการเงินจึงกลายเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด  โดย การตัด และ ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น   ละนิสัยใช้จ่ายอย่าง  เลิกใช้เงินเกินรายได้ที่มี    ขายของที่เราสะสม หรือ ขายประกันออนไลน์   ของ “ ฟิลลิปประกันชีวิต “  เพื่อเพิ่มรายได้   อยู่บ้านก็หารายได้เสริมได้ นะครับ

12 ข้อคิด ในการวางแผนด้านการเงิน ด้วยตนเอง

  1. การวางเป้าหมายทางการเงินอย่างชัดเจน : เริ่มต้นก้าวแรก ด้วยเป้าหมายการเงินให้ชัดเจน วัดผลได้ รู้วิธีทำให้สำเร็จ และมีกรอบเวลาที่แน่ชัด
  2. วางแผนการเงิน โดย จัดลำดับทรัพย์สิน และ สินทรัพย์ที่ต้องการจะมี สร้างความมั่นคงให้ชีวิตตนเอง และครอบตรัว เพื่อก้าวสู่วัยเกษียณอย่างสบายใจ
  3. บริหารรายได้ อย่างมีประสิทธิภาพ : 50% ออมทรัพย์ ลงทุน  เงินออมฉุกเฉิน  50% ค่าใช้จ่าย รวมทั้ง ชำระหนี้
  4. เริ่มออมทรัพย์ เริ่มความมั่งคงทางการเงิน ประมาณ 10% หรือ ¼ ของรายได้ต่อเดือน ไม่ว่าจะออมเผื่อกรณีฉุกเฉิน  ออมเพื่อเติฝ้น  ออมเพื่อวัยเกษียณ  หรือออมเพื่อการลงทุน
  5. ตัดค่าใช้จ่าย ที่ไม่จำเป็น : ตั้งสติก่อนใช้จ่าย เสริมด้วยการทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย  แยกจำเป็น หรือ อยากได้
  6. จัดการหนี้สิน เช่น กู้เงินตามกรมธรรม์ ที่มีดอกเบี้ยต่ำ ไปลดหนี้สิน ที่มีดอกเบี้ยสูงๆ : หนี้ดี ที่ช่วยสร้างรายได้และความมั่นคง  หรือ หนี้พึงระวัง ที่เกิดจากการกู้เพื่อซื้อของที่อยากได้  เลี่ยงการค้ำประกันที่ไม่จำเป็น
  7. รู้เท่าทันภัยทางการเงิน ควรคิด ก่อน คลิก  ในการทำธุรกรรมทางการเงิน
  8. ประกัน ช่วยลด ความกังวล และความไม่แน่นอน ทางการเงิน การทำประกันสามารถช่วยลดความกังวล กับความไม่แน่นอนทางการเงินจากความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ
  9. ลงทุนใน กองทุน ประกันออมทรัพย์  หุ้น   กองทุนเพื่อการเกษียณอายุ: การลงทุน เป็น ทางเลือกในการเพิ่มพูนความมั่งคั่ง
  10. สร้างรายได้หรือกระแสเงินสดที่มาจากการลงมือทำในช่วงแรก เช่น ค่าเช่า เงินปันผล เงินคืนระหว่างสัญญาตามกรมธรรม์
  11. วางแผนการเงิน ไปพร้อมกับเรื่องภาษี รู้ค่าลดหย่อน และ สิทธิทางภาษี  โดยจัดให้มีสิ่งที่ช่วยลดหย่อนภาษี ให้มากที่สุด
  12. เกษียณสุข ไม่เกษียณทุกข์  โดยคำนวณเงินที่ต้องใช้ ด้วยสูตร ค่าใช้จ่ายต่อเดือน X 12 X จำนวณปีที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ

ที่ปรึกษาทางการเงิน  “ ฟิลลิปประกันชีวิต “พร้อมที่จะช่วยเหลือท่าน  วางแผนทางการเงิน  ให้คำแนะนำในการสร้างสถานะการเงินที่ดี  ปลดหนี้  สร้างสินทรัพย์    มีคุณภาพการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น   หรือ ได้รับอิสรภาพทางการเงิน  ก่อนที่จะ เกษียณสุข  เกษียณรวย  ท่านใดที่ต้องการคำปรึกษาเรื่องการวางแผนทางการเงิน  ด้วยผลิตภัณฑ์ทางด้านการเงินอย่างครบวงจร  สามารถติดต่อ PhillipLife Financial Advisor ที่ปรึกษาทางการเงิน  “ ฟิลลิปประกันชีวิต “  ทั่วประเทศได้หรือ เพียงคลิ๊ก  https:// philliplife.com

เพราะทุกชีวิต ….. มีคุณค่า

ให้ “ ฟิลลิปประกันชีวิต “ เป็น หุ้นส่วนที่อยู่เคียงข้างคุณ ตลอดไป