ตอบคำถามยอดฮิต “วัคซีนโควิดมีอะไรบ้าง?”

เชื่อว่า คงจะมีคนจำนวนไม่น้อยที่ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ โควิด-19 แล้วเกิดอาการ งง! เพราะบางทีก็เจอข่าวจริง/ไม่จริง ซึ่งต้องคอยเตรียมพร้อมอัปเดตตลอดเวลา โดยเฉพาะเรื่องของ “วัคซีนโควิด” ว่า สรุปแล้วทั่วโลก มีวัคซีนยี่ห้อใดบ้าง? ตอนนี้มีตัวไหนที่ผ่านการรับรองจาก WHO แล้ว? วันนี้ เราจึงขอเก็บรวบรวมรายชื่อ วัคซีนโควิด ยี่ห้อต่างๆ ทั่วโลก เพื่อมาไขข้อสงสัยนี้กัน

 

ชนิดของวัคซีนโควิด-19

ก่อนที่เราจะพาไปไล่เรียงถึงยี่ห้อวัคซีนโควิดต่างๆ ที่มีทั่วโลก มาดูกันก่อนดีกว่าว่า วัคซีนโควิด-19 ทั้ง 4 ชนิด มีอะไรบ้าง?

1)  ชนิด mRNA Vaccine

วัคซีนโควิดชนิดนี้ผลิตจากสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 หรือ SARS-CoV-2 โดยจะพา mRNA เข้าเซลล์ และสั่งให้เซลล์ผลิตโปรตีนมากระตุ้นภูมิต้านทานกันเชื้อโควิด-19

2) ชนิด Viral Vector Vaccine

วัคซีนโควิดชนิดนี้จะมีการตัดแต่งพันธุกรรมไวรัส โดยนำสารจาก SARS-CoV-2 เข้าไปใส่ในไวรัสตัวอื่นที่มีชีวิตอยู่ ไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันภายใน (ชนิดนี้ไม่เหมาะกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง)

3) ชนิด Protein-Based Vaccine

วัคซีนโควิดชนิดนี้จะใช้โปรตีนจาก SARS-CoV-2 แล้วนำไปผสมกับสารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดภูมิคุ้มกัน

4) ชนิด Inactivated Vaccine

วัคซีนโควิดชนิดนี้ จะใข้ไวรัส SARS-CoV-2 มาเลี้ยงขยายจำนวนแล้ว ทำให้เชื้อตาย เมื่อฉีดเข้าไปร่างกายจะเหมือนได้รับเชื้อโดยตรง และสร้างภูมิคุ้มกันมาป้องกัน แต่ไม่ทำให้เกิดโรค

 

10 วัคซีนโควิด-19 ที่มีข้อมูลใน WHO

หากจะพูดถึงวัคซีนโควิด-19 ที่มีอยู่ทั้งหมดบนโลกใบนี้ ณ เวลานี้ อาจจะพูดไม่หมด เพราะแม้แต่ไทยเองก็ยังมีโครงการคิดค้นที่เตรียมวางแผนจะทดลองใช้และผลิตให้ฉีดจริงเช่นกัน ในบทความนี้จึงขอแนะนำเฉพาะ 10 วัคซีนโควิด-19 ที่น่าสนใจและมีชื่อขึ้นอยู่ในระบบของ WHO (ไม่ได้หมายความว่า WHO รับรองแล้ว)

 1) ไฟเซอร์ (Pfizer)

วัคซีนโควิดที่รู้จักกันในชื่อว่า Comirnaty เป็นหนึ่งในวัคซีนแบบ mNRA ถูกสร้างโดยบริษัทเยอรมันที่ชื่อ BioNTech ร่วมกับ บริษัทอเมริกัน ชื่อ Pfizer สามารถป้องกันโรคได้กว่า 95% และป้องกันการเสียชีวิตได้กว่า 100%

2) แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca)

อีกหนึ่ง วัคซีนโควิด-19 ชนิด Viral Vector ที่คนไทยต้องรู้จัก นอกจากนี้ยังมีชื่ออื่นๆ ตามแต่ละที่ผลิต คือ Vaxzevria และ Covishield (อินเดีย) สร้างโดยมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดของอังกฤษ ร่วมกับบริษัท AstraZeneca และ CEPI (มีรายงานว่า ตรวจพบปัญหาเกี่ยวกับลิ่มเลือด เดนมาร์กและนอร์เวย์ จึงยุติการฉีดด้วยวัคซีนตัวนี้) สามารถป้องกันโรคได้ 76% ขึ้นไป และป้องกันการเสียชีวิตกว่า 100%

3) จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson)

วัคซีนโควิด แบบ Viral Vector ที่ผลิตโดย Janssen Pharmaceutica และ BIDMC (เดนมาร์ก ฟินแลนด์ นอร์เวย์ ประกาศยุติการฉีดตัวนี้ เนื่องจากพบลิ่มเลือดด้วยเช่นกัน) สามารถป้องกันเชื้อได้ 72% ขึ้นไป และป้องกันการเสียชีวิตกว่า 86%

4) โมเดิร์นนา (Moderna)

อีกหนึ่งวัคซีนโควิด-19 แบบ mRNA ที่กำลังจะเข้าไทยเร็วๆ นี้ ผลิตโดยบริษัทอเมริกัน ชื่อ โมเดิร์นนา มีประสิทธิภาพด้านการป้องกันเชื้อได้ 94.1% ผ่านการทดลองยืนยันโดยกลุ่มทดลองในคลินิก (สำหรับผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ความสามารถอาจจะน้อยลงเหลือ 86.4% แต่เฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 90%)

5) ชิโนฟาร์ม (Sinopharm)

แม้จะเป็นวัคซีนโควิดจากจีน แต่ก็ผ่านการรับรองโดย WHO เรียบร้อย เป็นวัคซีนแบบ Inactivated ที่ผลิตโดยกลุ่มเภสัชกรรมแห่งชาติของจีน มีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อ 72.8% และป้องกันอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตกว่า 79%

6) ซิโนแวค (Sinovac)

อีกหนึ่งวัคซีนโควิดจากจีน ที่เป็นประเด็นในไทยมาตลอด เป็นวัคซีนแบบ Inactivated เช่นกัน มีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อ 67% และป้องกันอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตกว่า 89%

7) สปุ๊ตนิก วี (Sputnik V)

วัคซีนโควิดแบบ Viral Vector ถูกสร้าง โดย สถาบันระบาดวิทยาและจุลชีววิทยา ของรัสเซีย มีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อ 91.6% (ปัจจุบันมีการพัฒนาจนกลายเป็น Sputnik Light ฉีดเพียง 1 โดสก็มีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อกว่า 79.4%)

8) แคนซิโน (Cansino)

วัคซีนที่ฉีดเพียงเข็มเดียวจากจีน โดยแคนซิโน ไบโอโลจิกส์ อิงก์ เป็นวัคซีนโควิดแบบ Viral Vector มีประสิทธิภาพการป้องกันกว่า 65%

9) โนวาแนกซ์ (Novanax)

อีกหนึ่งวัคซีนของสหรัฐอเมริกา โดยโนวาแนกซ์ อิงค์ บริษัทของสหรัฐอเมริกา เป็นวัคซีนโควิด-19 แบบ mRNA  สามารถป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์เดิม 96.4% โควิดกลายพันธุ์อังกฤษ 89.3% และแอฟริกาใต้ 49%

10) เคียวแวค (Curevac )

วัคซีนจากเยอรมัน แบบmRNA ที่ใช้นวัตกรรมเทียบเท่า Pfizer และ Moderna จะเปิดเผยผลการทดลองภายใน 15 กรกฎาคม ต่อไป

นอกจากนี้ หากหาข้อมูลอ่านเพิ่มเติมจริงๆ อาจจะเจอ วัคซีนโควิด-19 รายชื่ออื่นโผล่มาเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการพัฒนาและใช้งานภายในประเทศ ยังไม่มีข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือโดยองค์กรระหว่างประเทศ

 

รายชื่อวัคซีนโควิด-19 ที่ผ่านการรับรองโดย WHO

– ไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค (Pfizer-BioNTech) ผ่านการอนุมัติ 31 ธันวาคม 2563

– แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) และ วัคซีนโควิชิลด์ (Covishield) ผ่านการอนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2564

– วัคซีนโควิด จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson) ผ่านการอนุมัติ 12 มีนาคม 2564

– โมเดอร์นา (Moderna) ผ่านการอนุมัติ 30 เมษายน 2564

– ชิโนฟาร์ม (Sinopharm) ผ่านการอนุมัติ 7 พฤษภาคม 2564

 

เชื่อว่า คนไทยส่วนใหญ่ในตอนนี้ กำลังคาดหวังว่า จะมีโอกาสได้เลือกฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ตัวเองเชื่อมั่นเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัย รวมถึงรอคอยให้มีการจัดสรรวัคซีนให้ประชาชนชาวไทยได้ฉีดกันอย่างทั่วถึง ในเร็วๆ นี้ การหาข้อมูลไว้ เพื่อทำความเข้าใจวัคซีนก็จะทำให้คุณพร้อมกว่าใคร แต่อย่าลืมมองหาประกันที่ตรงใจกับตัวเองและยินดีคุ้มครอง ในกรณีแพ้วัคซีนด้วย เพราะร่างกายของคนเราไม่เหมือนกัน โอกาสแพ้ก็ไม่เหมือนกัน แต่คุณสามารถเตรียมพร้อมได้เสมอ!