ปัจจัยที่ส่งผลต่อ คะแนนเครดิตทางการเงินของคุณ

ในปัจจุบันการไปตรวจเครดิตบูโร ไม่ได้มีแค่การเช็กประวัติการชำระหนี้รายบัญชีเท่านั้น แต่นั่นยังรวมถึงการตรวจ เครดิตสกอริ่ง (Credit Score) อีกด้วย ซึ่งเป็นบริการสำหรับลูกหนี้ที่ต้องการเข้าใจสถานการณ์เครดิตของตัวเองให้มากและลึกที่สุด ด้วยมุมมองเดียวกับที่สถาบันการเงินต่างๆ ที่คุณไปขอสินเชื่อ

มรทำความเข้าใจกับ เครดิตสกอริ่ง (Credit Score) กัน

“Credit Score” หรือที่เรามักคุ้นหูในชื่อว่า คะแนนเครดิต คือเครื่องหมายหรือตัวเลข ที่เป็นผลรวมจากการประเมินข้อมูลทางสถิติของลูกค้ารายใดรายหนึ่ง ว่ามีโอกาสที่จะไม่ผิดนัดชำระหนี้ที่ก่อไว้หรือไม่ โดยใช้วิธีการคำนวณจากประวัติการก่อหนี้ต่างๆ รวมถึงพฤติกรรมการชำระหนี้ในอดีตที่ผ่านมาของบุคคล ๆ นั้น

สำหรับบุคคลธรรมดา เวลาที่คุณไปตรวจเครดิตบูโร ไม่ว่าจะที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ฯลฯ คุณสามารถตรวจได้แค่รายงานข้อมูลเครดิตเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่บอกว่าคุณมีสินเชื่อทั้งหมดกี่บัญชี กับสถาบันการเงินไหนบ้าง และข้อมูลสถานะการชำระหนี้ของคุณเป็นอย่างไร มียอดคงค้างชำระเท่าไร รวมทั้งสามารถตรวจเครดิตสกอริ่ง (Credit Score) ของตัวเองได้อีกด้วย

โดยปกติแล้วนั้น รายงานข้อมูลเครดิต จะบ่งบอกว่าคุณมีพฤติกรรมชำระหนี้เป็นอย่างไรในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ส่วน Credit Score ต่างๆ จะสรุปเพียงข้อมูลทั้งหมดนั้นออกมาเป็นคะแนน ที่บอกว่าเครดิตของคุณนั้นจัดอยู่ในเกณฑ์ดีหรือไม่

การตรวจเครดิตสกอริ่งสำคัญกับคุณแค่ไหน

หากคุณเป็นบุคคลที่ต้องการขอสินเชื่อ หรือเครดิตต่างๆ การตรวจเครดิตสกอริ่งนั้น ถือได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยการได้รู้คะแนนของตัวเองมีประโยชน์หลายอย่าง ได้แก่

  • ทำให้เจ้าของข้อมูลเข้าใจสถานภาพเครดิตของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น มีโอกาสเพิ่มที่จะได้สินเชื่อ หรือช่วยให้สามารถเลือกขอสินเชื่อให้เข้ากับเครดิตของตัวเองได้
  • ทำให้คุณรู้เท่าทันสุขภาพทางการเงินของตัวเอง ป้องกันการก่อหนี้เพิ่มขึ้น เป็นการช่วยกระตุ้นวินัยการบริหารหนี้สินเป็นไปในทางที่ดีขึ้น

Credit Score ของคุณนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง?

  • ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ เทียบกับวงเงินสินเชื่อ
  • ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ รวมแต่ละประเภทสินเชื่อ
  • จำนวนบัญชีสินเชื่อที่เพิ่งเปิด
  • จำนวนเงินคงค้างล่าสุด
  • ความยาวของประวัติสินเชื่อ
  • จำนวนบัญชีที่มีประวัติชำระหนี้ที่ดี
  • ความยาวของบัญชีสินเชื่อที่มี
  • ความถี่ในการสมัครสินเชื่อใหม่